|
| เคมีอาหาร | | | | | | | EDTA (Ethylene Diamine Tetra-Acetic acid) | Ethylene Diamine Tetra-Acetic acid (เขียนย่อว่า EDTA) และ ethylene diamine tetra-acetic acetate ซึ่งเป็น เกลือของ EDTA เป็นวัตถุเจือปนอาหาร (food additive) มีสมบัติเป็น chelating agent
การใช้ EDTA ในอาหาร
เกลือ EDTA ที่ใช้ในอาหาร เพื่อเป็นวัตถุเจือปนอาหาร โดยมีวัตถุประสงค์การใช้เพื่อ - สารจับโลหะ (Sequestrant) - สารกันหืน (Antioxidant) - สารป้องกันการเปลี่ยนสี (Colour retention agent)
1. การเกิดสีน้ำตาลจากเอนไซม์ (enzymatic browning reaction) ซึ่งเป็นสาเหตุของการเปลียนสีของผัก ผลไม้ เช่น กล้วย แอปเปิ้ล ผักสลัด มันฝรั่ง กุ้ง โดย EDTA จะใช้ทำปฏิกริยากับ transition-metal ions ซึ่งเป็นส่วนประกอบของเอนไซม์ เกิดเป็นสาร chelate ที่เสถียร ทำให้เอนไซม์ ไม่สามารถทำงานได้ปกติ จึงช่วยรักษาสีของอาหารไว้ได้ โดยจะใช้ EDTA ในกระบวนการแปรรูปผัก ผลไม้ หลากหลาย เช่น การทำผักผลไม้ตัดแต่งพร้อมรับประทาน การแช่แข็ง (freezing) การทำแห้ง (dehydration) การบรรจุกระป๋อง (canning) การทำน้ำผัก น้ำผลไม้ เพื่อช่วยรักษาสี ยืดอายุการเก็บของอาหาร
2. ป้องกันการออกซิเดชันของสี (food coloring) ทั้งสีที่มีตามธรรมชาติ เช่น คลอโรฟิวส์(chloropyll) แอนโทไซยานิน (anthocyanin) รวมทั้งสีผสมอาหาร (coloring agent) ช่วยการคงตัวของสี และกลิ่นรส กับผลิตภัณฑ์ เช่น เครื่องดื่ม เครื่องดื่มอัลกอฮอล์ (alcoholic beverage) น้ำอัดลม (carbonated beverage)
- สารกันเสีย (Preservative) การเกิดกลิ่นหืน (rancidity) จากปฏิกริยา lipid oxidation ซึ่งมีโลหะเป็นตัวเร่งปฏิกริยา EDTA จะทำปฏิกริยากับโลหะ ช่วยชะลอการเกิดปฏิกริยา จึงช่วยการคงตัวของกลิ่นรสอาหารที่มีไขมัน และน้ำมัน เป็นส่วนประกอบเช่น น้ำมันพืช (vegetable oil) น้ำสลัด (salad dressing) มายองเนส (mayonnaise) มาการีน (margarine) - การบำบัดน้ำกระด้าง (water hardness) โดย EDTA จะจับกับ แคลเซียม และแมกนีเซียม
product code : chemical_000012 |
|
more images ( food_chemical ) | | |
| | |
|