|
| เคมีอาหาร | | | | | | | กรดอะซิติก (Acetic Acid) | กรดอะซิติก (Acetic Acid) - หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่ากรดน้ำส้ม (acetic acid) เป็นสารประกอบเคมีอินทรีย์ชนิดหนึ่งที่มีอยู่ในน้ำส้มสายชู (มิใช่พืชตระกูลส้มซึ่งให้กรดซิตริก) คือให้รสเปรี้ยวและกลิ่นฉุน กรดแอซีติกแข็งตัวที่อุณหภูมิต่ำกว่า 16.7 C มีลักษณะเป็นผลึกใส กรดชนิดนี้มีฤทธิ์กัดกร่อน ไอของกรดสามารถทำให้ตาและจมูกระคายเคือง แต่ก็ยังมีฤทธิ์เป็นกรดอ่อนหากละลายน้ำ ซึ่งมีประโยชน์มากในการขจัดตะกรันในท่อน้ำ ในด้านอุตสาหกรรมอาหาร กรดแอซีติกใช้เป็นวัตถุเจือปนอาหารเพื่อควบคุมความเป็นกรด
กรดอะซิติก (C2H4O2) เป็นของเหลวใสไม่มีสี มีกลิ่นฉุน แสบจมูก ระเหยได้ น้ำหนักโมเลกุล 60.05 จุดเดือด 118 องศาเซลเซียส จุดเยือกแข็งที่ 17 องศาเซลเซียส ความถ่วงจำเพาะ 1.05 ความดันไอ 11 มม.ของปรอทที่ 20 องศาเซลเซียส ละลายน้ำได้ดี มีความเสถียร กรดอะซิติกบริสุทธิ์ เรียกว่า กรดน้ำส้มล้วน หรือกรดกลาเซียอะซิติก (Glacial acetic acid) ซึ่งมีลักษณะเป็นผลึกที่อุณหภูมิต่ำกว่า 17 องศาเซลเซียส การเจือจางกรดด้วยน้ำ ได้น้ำส้มสายชูสำหรับปรุงอาหาร ซึ่งอาจได้จากการหมัก มีกลิ่นหอมและไม่มีอันตรายจากสารปนเปื้อน
ในสมัยโบราณมีการนำกรดนี้มาใช้โดยหมักจากไวน์หรือเหล้าต่อจนมีรสเปรี้ยว ได้น้ำส้มสายชู (Vinegar) ซึ่งมีความเข้มข้นประมาณร้อยละ 3 ปัจจุบันการผลิตกรดอะซิติกใช้การสังเคราะห์ทางเคมีโดยการออกซิไดซ์อะเซตาลดีไฮด์ (Acetaldehyde) หรือใช้คาร์บอนมอนอกไซด์ทำปฏิกิริยากับไฮโดรเจนได้เมธานอล แล้วทำปฏิกิริยากับคาร์บอนมอนอกไซด์ อีกครั้งหนึ่งจนได้กรดอะซิติก
กรดอะซิติก ใช้ในการผลิตพลาสติก อุตสาหกรรม สีย้อมผ้า ยาฆ่าแมลง ยาแอสไพริน เส้นใยสังเคราะห์ สารโพลีเมอร์และกาว เป็นต้น
อันตรายต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม
กรดอะซิติก มีความรุนแรงน้อยกว่ากรดอนินทรีย์ เนื่องจากเป็นกรดที่ระเหยได้ จึงมีความเป็นพิษได้ทั้งจากการหายใจ การสัมผัส และการกิน พิษจากการหายใจทำให้ไอ หายใจขัด ความเป็นพิษจากการสัมผัสและการกินจะเกิดในกรณีที่มีความเข้มข้นสูง เช่น กรดกลาเซียลอะซิติก ทำให้ระคายเคืองต่อปาก และทางเดินอาหาร ผิวเนื้อเยื่อถูกทำลาย เกิดการอักเสบ อาจมีเลือดออก พิษจากการสัมผัสที่ผิวหนังไม่รุนแรงสามารถล้างน้ำออกได้อย่างรวดเร็ว
อาจทำปฏิกิริยากับสารออกซิไดเซอร์ที่แรง เช่น เปอร์คลอเรต เปอร์แมงกาเนต ทำให้เกิดการระเบิดได้
product code : chemical_000001 |
|
more images ( food_chemical ) | | |
| | |
|